Modernizing Organization with Generative AI - Workbook
  • UB00 - How to use this book
    • UB00A - How to Access Copilot, Gemini, ChatGPT, and Claude
  • UB01 - List of Fun Prompts You Can Try on Any AI Assistant
  • UB02 - Write a Social Media Post with ChatGPT + Copilot + Claude
  • UB03 - Search & Browse the Web with Copilot
  • UB04 - ก้าวข้ามอุปสรรคทางภาษาด้วย Claude
  • UB05 - ChatGPT & Gemini as Writing Assistants
  • UB06 - Image Question Answering Feature
  • UPE01 - Applying Prompt Engineering to Get the Most Out of Your AI Assistants
  • UPE02 - Requesting Structured Outputs for Clarity and Efficiency
  • UPE03 - Creating Structured Prompts to Share with Your Team
  • UPE04 - Master-Level Prompt Engineering
    • UPE04 [TH] - Prompt Engineering ขั้นสูง
  • [BI] Generative AI in Qlik
  • [BI] Einstein Copilot for Tableau
  • [BI] Microsoft 365 Copilot for Excel
  • [BI] Copilot for Power BI
  • UPE05 - Data Analytics with ChatGPT
Powered by GitBook
On this page
  • 👩🏻‍💼 Persona
  • 🚀 Learning Objectives
  • 🛠️ Tools
  • Prompting AI the lazy way
  • Information Gathering
  • Information Extraction
  • Ensuring that AI Delivers Accurate Information with Fact-Grounding
  • ประสิทธิภาพด้านภาษาไทยของ GPT-4o
  • Getting High-Quality Search Result from Copilot
  • Use Claude for Information Extraction
  • Use Fact-Grounding Whenever Possible

UB02 - Write a Social Media Post with ChatGPT + Copilot + Claude

แบบฝึกหัดนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของ Generative AI และวิธีใช้ผู้ช่วยเอไอในการทำงาน เราจะใช้ AI ในการสร้างเฟสบุคโพสท์เกี่ยวกับปัญหามลพิษ PM2.5

PreviousUB01 - List of Fun Prompts You Can Try on Any AI AssistantNextUB03 - Search & Browse the Web with Copilot

Last updated 9 months ago

👩🏻‍💼 Persona

ในแบบฝึกหัดนี้เราจะลองสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าให้เขียนโพสต์เฟสบุ๊กเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษ PM2.5 ต่อสุขภาพคนไทยโดยต้องมีข้อมูลจากงานวิจัยคุณภาพสูงสนับสนุน

🚀 Learning Objectives

  1. ผู้เรียนเข้าใจวิธีเขียน prompt ใน Copilot เพื่อรีเสิชข้อมูลในอินเตอร์เน็ทและรวบรวมข้อมูลคุณภาพสูง

  2. ผู้เรียนเข้าใจวิธีการดึงข้อมูลออกจากไฟล์ PDF เพื่อนำมาผ่านกระบวนการอื่นๆต่อ และเห็นความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลที่ AI ดึงออกมา

  3. ผู้เรียนเข้าใจวิธีการนำข้อเท็จจริงมาเป็นพื้นฐานให้ AI นำไปเขียนเป็นงานเขียนชิ้นใหม่ที่มีความถูกต้อง

🛠️ Tools

+

Prompting AI the lazy way

หลายคนมักจะเริ่มต้นการใช้ AI ด้วยการเขียน prompt แบบง่ายๆ และคาดหวังว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ดี แต่กลับต้องผิดหวัง ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า AI ยังไม่ค่อยฉลาดหรือไม่มีประโยชน์

โปรดเขียนโพสต์สั้นๆสำหรับเฟสบุ๊กเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษ PM2.5 ต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเป็นพื้นฐาน

Response from Co-pilot (using GPT-4 as the backend)

Hallucination got better in recent models

โมเดลใหม่ๆ มีอาการ Hallucinate น้อยลงกว่าเก่ามากแต่การเขียน prompt แบบง่ายๆนี้ก็ไม่ได้ทำให้โมเดลไปดึงเอาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาใช้จริงๆ จึงไม่มีเครื่องยืนยันว่าสิ่งที่โมเดลเขียนเป็นเรื่องจริงหรือคิดขึ้นมาเอง

Response I got (GPT-4o)

แน่นอนค่ะ นี่คือโพสต์สั้นๆ สำหรับเฟสบุ๊กเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษ PM2.5 ต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย:


🌿 #รู้ทันPM2_5 #สุขภาพดีห่างไกลมลพิษ 🌿

มลพิษ PM2.5 เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพวกเราอย่างมหาศาล จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ พบว่าการหายใจเอาอนุภาคขนาดเล็กนี้เข้าสู่ร่างกาย สามารถทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ และโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดอีกด้วย

ประเทศไทยเราเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหามลพิษ PM2.5 สูงเป็นอันดับต้นๆ ในโลก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เมื่อมีการเผาไร่เผาป่ามากขึ้น เป็นเหตุให้คุณภาพอากาศแย่ลง

เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเราและคนที่เรารัก อย่าลืมสวมหน้ากากป้องกัน ฝุ่น PM2.5 และพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่ค่ามลพิษสูง รวมถึงสนับสนุนการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รักษาสุขภาพของเรา รักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน 💚


ขอให้ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์และช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมลพิษ PM2.5 ให้กับเพื่อนๆ ทุกคนนะคะ 😊

เรามาลองดูวิธีการใช้ AI ที่ถูกต้องกัน อาจจะเห็นประโยชน์ของมันชัดเจนขึ้น

Information Gathering

เราต้องคิดก่อนว่าในฐานะเจ้าหน้าที่การตลาด ถ้าเราจะเป็นคนทำงานนี้ด้วยตัวเองและอยากได้ผลลัพธ์คุณภาพสูง เราจะเริ่มอย่างไร ก่อนอื่นเราคงต้องหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือก่อนใช่หรือไม่

เราอาจจะเริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลและงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมาประกอบการเขียนโพสต์ โดยจะใช้คำสั่งต่อไปนี้ในการขอข้อมูลจาก Copilot

Try this prompt in Copilot

ฉันต้องการเขียนเฟสบุคโพสท์คุณภาพสูงที่มีงานวิจัยรองรับเกี่ยวกับ ปัญหามลพิษ PM2.5 ในประเทศไทย โพสท์นี้เป็นโพสท์สั้นๆที่อธิบายถึงผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพของประชาชน

ช่วยหาลิงค์ข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับปัญหามลพิษ PM2.5 ในประเทศไทย โปรดให้ข้อมูลจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เช่น รายงานจากองค์กรของรัฐบาล บทความวิชาการ หรือข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศ ข้อมูลควรครอบคลุมผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการสัมผัสมลพิษ PM2.5 ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โปรดเน้นลิงค์ที่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือระดับนานาชาติ

ผลลัพธ์

งานวิจัยที่ Copilot หามาได้ค่อนข้างหน้าเชื่อถือทีเดียว ลิงค์แรกเป็นบทความจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ลิงค์ที่สองเป็นบทความจากอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

หลังจากที่เปิดบทความและลองไล่ดูคร่าวๆ คิดว่าบทความที่ 2 มีข้อมูลที่ค่อนข้างแน่นและน่าเชื่อถือ จึงน่าจะเป็นข้อมูลที่เราใช้ในการอ้างอิงได้ เราดาวน์โหลดบทความลงมาใช้อ้างอิง

Note:

สิ่งหนึ่งที่อาจจะเห็นได้ชัดจากแบบฝึกหัดนี้คือการเขียน prompt แบบเดียวกันไม่ได้ให้ผลลัพธ์เหมือนกันทุกครั้ง จึงเห็นได้ว่าเอไออาจจะมีความไม่แน่นอนในคำตอบ ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะต้องการคำตอบที่หลากหลาย แต่ในบาง use cases ที่ต้องการความแน่นอนก็อาจจะทำให้หงุดหงิดได้

Information Extraction

ในบทบาทเจ้าหน้าที่การตลาดเราก็น่าจะอยากอ่านบทความนี้เพื่อดึงเอาข้อเท็จจริงมาเขียนโพสท์ แต่เราก็ขี้เกียจอ่านเอง จึงจะขอให้เอไอช่วยสรุปเฉพาะข้อเท็จจริงจากบทความมาให้เราตรวจก่อน

สำหรับคนที่ใช้ AI หลายๆตัวประกอบกันในการทำงานจะเข้าใจว่า AI แต่ละตัวมีความสามารถต่างกัน อย่างงานการดึงข้อมูลจาก PDF เรารู้ว่า Claude เก่งที่สุด เราจะให้ Claude ทำงานนี้ (และให้เขาจบงานนี้ให้เราเลยจริงๆแล้ว)

Try this prompt

ช่วยดึงเอาข้อเท็จจริงมาจากบทความนี้หน่อย อยากได้ข้อเท็จจริงที่เน้นย้ำว่า PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพแค่ไหน และอาจจะทำเกิดอาการหรือโรคภัยอะไรกับคนเราได้บ้าง ลิสต์ข้อเท็จจริงทั้งหมดมาและช่วย quote ข้อความในบทความหน่อยว่าแต่ละข้อเท็จจริงมาจากส่วนไหนของบทความนี้ โปรดเขียนให้เข้าใจง่ายๆ คนทั่วไปก็เข้าใจได้ ถ้าใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ก็ช่วยวงเล็บอธิบายหน่อยว่าหมายถึงอะไร
Response I got from Claude

จากบทความนี้ ข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่า PM2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ มีดังนี้

  1. PM2.5 ส่งผลให้สมรรถภาพปอดลดลง จากข้อความว่า "ผลการศึกษาพบว่า PM2.5 ในอากาศมีค่าเฉลี่ย 1.81 ถึง 39.84 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามัธยฐาน=10.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และมีผลลดปริมาตรอากาศที่จุอยู่ในปอด (forced vital capacity) และปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วและแรงในวินาทีที่ 1 (forced expiratory volume in one second)"

  2. PM2.5 ทำให้เกิดอาการหอบหืด โดยข้อความระบุว่า "พบว่า PM2.5 กระตุ้นอาการหายใจมีเสียงหวีด (wheezing)"

  3. PM2.5 ส่งผลให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จากข้อความว่า "พบว่ามีความชุกของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มที่อาศัยในพื้นที่ที่มี PM2.5 สูงมากกว่ากลุ่มที่อาศัยในพื้นที่ที่มี PM2.5 ต่ำอย่างมีนัยสำคัญ"

  4. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จากข้อความว่า "PM2.5 ที่ความหนาแน่นเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรมีผลเพิ่มอุบัติการณ์การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุ 0-11 ปี"

  5. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จากข้อความว่า "ปริมาณของ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่ระดับความหนาแน่นมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจะเพิ่มการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน"

  6. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง จากข้อความว่า "เมื่อทำการวิเคราะห์ adjusted hazard ratio ของอุบัติการณ์ในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่อปริมาณ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในอากาศมีค่าเท่ากับ 1.13"

  7. PM2.5 ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) จากข้อความว่า "PM2.5 ทำให้ brachial artery flow-mediated dilation หรือ FMD ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelial function) ลดลง ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง"

  8. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นลิ่มเลือดอุดตัน จากข้อความว่า "PM2.5 ที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเป็นเวลาเฉลี่ย 1 เดือนมีผลเพิ่มอุบัติการณ์ในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด"

  9. PM2.5 ส่งผลให้เกิดโรคทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม กลุ่มอาการออทิสติก และโรคพาร์กินสัน

  10. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จากข้อความว่า "PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจะเพิ่มความเสี่ยง 1.25 เท่าเมื่อความหนาแน่นของ PM2.5 เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร"

  11. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด จากข้อความว่า "การได้รับ PM2.5 ผ่านทางการหายใจเป็นระยะเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอดโดยตรง"

สรุปคือ PM2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายระบบในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสมองและระบบประสาท และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค

จะเห็นว่า Claude สรุปข้อเท็จจริงมาได้ค่อนข้างดีเลย

เพื่อความชัวร์ควรกลับไปเช็ค PDF ว่าข้อเท็จจริงเหล่านี้ปรากฎตามที่ Claude อ้างอิงมาหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วถูกต้อง เราก็สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในขั้นต่อไปได้ ในไฟล์นี้เรานำ PDF มาตรวจสอบและพบว่า Claude อ้างอิงจากบทความถูกต้องทั้ง 11 ข้อ

Response I got if I use GPT-4o

นี่คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอันตรายของ PM2.5 ต่อสุขภาพ พร้อมการอ้างอิงจากบทความ:

  1. PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีกลไกการเกิดพิษที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) และกระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย 【5†source】.

  2. PM2.5 ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ลดสมรรถภาพของปอด (lung function) และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease - COPD) และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 【5†source】 .

  3. PM2.5 สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง และภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary events) 【5†source】 .

  4. การได้รับ PM2.5 ในระยะยาวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) 【5†source】 .

  5. PM2.5 สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (stroke), ภาวะสมองเสื่อม (dementia), และโรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) 【5†source】 .

  6. การได้รับ PM2.5 ผ่านทางการหายใจในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 【5†source】 .

นี่คือข้อความจากบทความที่สนับสนุนข้อเท็จจริงข้างต้น:

  1. "มลภาวะทางอากาศซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมากในขณะนี้คือ PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน อันเกิดจากการเผาในที่โล่ง โรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงจากที่พักอาศัย โดย PM2.5 มีกลไกที่สำคัญในการเกิดพิษคือก่อให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันและกระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย" 【5†source】.

  2. "การได้รับ PM2.5 เข้าสู่ร่างกายผ่านทางการหายใจส่งผลให้เกิดผลต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เป็นหลัก โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลลดสมรรถภาพของปอด...ฝุ่นละอองขนาดเล็กยังมีผลต่อโรคต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ" 【5†source】 .

  3. "การสัมผัสกับ PM2.5 เป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง...PM2.5 รวมถึงมลพิษทางอากาศอื่นๆ ต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" 【5†source】 .

  4. "จากการศึกษาแบบ meta-analysis ของ He และคณะ...พบความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 จากการได้รับ PM2.5" 【5†source】 .

  5. "จากการศึกษาแบบ meta-analysis ของ Fu และคณะ...กลุ่มประชากรซึ่งได้รับ PM2.5 เป็นเวลานานมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น" 【5†source】 .

  6. "การได้รับ PM2.5 ผ่านทางการหายใจเป็นระยะเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอดโดยตรง...ผู้ชายมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดจาก PM2.5 ได้มากกว่าเพศหญิง" 【5†source】

GPT-4o ก็ถือว่าตอบได้อย่างค่อนข้างครบถ้วน แต่ไม่ละเอียดเท่า Claude ยังมีตกหล่นในบางข้อ

Ensuring that AI Delivers Accurate Information with Fact-Grounding

จากนั้นเราจะนำข้อเท็จจริงที่ AI สรุปมาใช้ในการเขียนโพสท์

Try this prompt

โปรดใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่อไปนี้ในการเขียนโพสต์สำหรับเฟสบุ๊กขนาดประมาณ 150 คำ โดยใช้หัวข้อประมาณว่า "PM2.5 อันตรายกว่าที่คิด" โพสท์นี้ควรเขียนด้วยภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย พยายามใส่รายละเอียดเท่าที่จะใส่ได้ใน 150 คำ โดยมีโทนของความห่วงใยต่อสุขภาพของผู้อ่าน และแชร์ข้อมูลแบบปรารถนาดีว่าให้ระวังตัวกันด้วย และหาวิธีป้องกันอย่าให้ PM2.5 ทำร้ายเราและคนที่เรารัก อย่าลืมอ้างอิงและขอบคุณผู้วิจัยสั้นๆ ใช้ภาษาที่ฟังดูน่ารัก เป็นกันเอง อบอุ่นแต่น่าเชื่อถือ แทนตัวเองว่าผมและเรียกผู้อ่านว่าลูกค้า เชิญชวนให้อ่านงานวิจัยต่อในลิงค์ (ฉันจะแนบลิงค์ต่อท้ายโพสท์)

---

ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สรุปมาจากบทความเรื่อง PM2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพและกลไกการเกิดพิษ โดยดร.ภก.วงศกร สุเชาว์อินทร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


1. PM2.5 ส่งผลให้สมรรถภาพปอดลดลง จากข้อความว่า "ผลการศึกษาพบว่า PM2.5 ในอากาศมีค่าเฉลี่ย 1.81 ถึง 39.84 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามัธยฐาน=10.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และมีผลลดปริมาตรอากาศที่จุอยู่ในปอด (forced vital capacity) และปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วและแรงในวินาทีที่ 1 (forced expiratory volume in one second)"
2. PM2.5 ทำให้เกิดอาการหอบหืด โดยข้อความระบุว่า "พบว่า PM2.5 กระตุ้นอาการหายใจมีเสียงหวีด (wheezing)"
3. PM2.5 ส่งผลให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จากข้อความว่า "พบว่ามีความชุกของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มที่อาศัยในพื้นที่ที่มี PM2.5 สูงมากกว่ากลุ่มที่อาศัยในพื้นที่ที่มี PM2.5 ต่ำอย่างมีนัยสำคัญ"
4. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จากข้อความว่า "PM2.5 ที่ความหนาแน่นเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรมีผลเพิ่มอุบัติการณ์การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุ 0-11 ปี"
5. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จากข้อความว่า "ปริมาณของ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่ระดับความหนาแน่นมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจะเพิ่มการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน"
6. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง จากข้อความว่า "เมื่อทำการวิเคราะห์ adjusted hazard ratio ของอุบัติการณ์ในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่อปริมาณ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในอากาศมีค่าเท่ากับ 1.13"
7. PM2.5 ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) จากข้อความว่า "PM2.5 ทำให้ brachial artery flow-mediated dilation หรือ FMD ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelial function) ลดลง ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง"
8. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นลิ่มเลือดอุดตัน จากข้อความว่า "PM2.5 ที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเป็นเวลาเฉลี่ย 1 เดือนมีผลเพิ่มอุบัติการณ์ในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด"
9. PM2.5 ส่งผลให้เกิดโรคทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม กลุ่มอาการออทิสติก และโรคพาร์กินสัน
10. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จากข้อความว่า "PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจะเพิ่มความเสี่ยง 1.25 เท่าเมื่อความหนาแน่นของ PM2.5 เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร"
11. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด จากข้อความว่า "การได้รับ PM2.5 ผ่านทางการหายใจเป็นระยะเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอดโดยตรง"

ผลลัพธ์

Response I got from Copilot (compose mode)

สวัสดีครับลูกค้าที่น่ารักทุกท่าน! วันนี้ผมมีเรื่องสำคัญที่อยากจะแชร์ให้ทุกคนได้รู้กันครับ เรื่องของ PM2.5 ที่อาจจะอันตรายกว่าที่เราคิดกันอยู่นะครับ จากการศึกษาของดร.ภก.วงศกร สุเชาว์อินทร์ พบว่า PM2.5 สามารถทำให้ปอดของเราทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการหอบหืด และแม้แต่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก็เกิดขึ้นได้ครับ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูงอีกด้วยครับ ดังนั้น อย่าลืมดูแลตัวเองและคนที่เรารักให้ห่างไกลจาก PM2.5 นะครับ และถ้าอยากรู้เพิ่มเติม อย่าลืมติดตามอ่านงานวิจัยของดร.ภก.วงศกร ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ! 😊🍃

จะเห็นได้ว่าโพสท์ที่เขียนโดยเอไออาจจะไม่ได้ดีเลิศที่สุด แต่ถ้าต้องเสิชหาบทความเอง อ่านบทความเอง สรุปเอง เขียนเองก็น่าจะเหนื่อยกว่าใช้ AI มากๆ ถ้าเราเป็น Content Marketer ที่มีฝีมือ AI ก็เป็นเสมือนผู้ช่วยที่จะทำดราฟท์ออกมาให้เราคร่าวๆก่อน แล้วเราจะแต่งเติม ใส่บุคลิกของแบรนด์ลงไปเพิ่มก็น่าจะไม่ยาก

ประสิทธิภาพด้านภาษาไทยของ GPT-4o

ตัวอย่างการเขียนเสียดสี

Key Lessons Learned (สิ่งที่เรียนรู้จากแบบฝึกหัดนี้)

Getting High-Quality Search Result from Copilot

การขอให้ AI ช่วยเขียนบทความหรือข้อความแบบลอยๆ มักจะได้ผลลัพธ์คุณภาพต่ำ การเขียนงานที่มีคุณภาพควรเริ่มจากการขอให้ AI หาแหล่งข้อมูลที่ดีเป็นจุดเริ่มต้น

ถ้าเราขอให้ Copilot หาข้อมูลโดยระบุความต้องการที่จะได้แหล่งข้อมูลคุณภาพสูง Copilot มักจะให้ผลลัพธ์จากการเสิชที่ตรงวัตถุประสงค์มากๆ เราสามารถเลือกเอาข้อมูลที่ดีไปใช้ต่อได้

Use Claude for Information Extraction

Claude มีความสามารถสูงในการดึงข้อเท็จจริงออกจากเอกสาร คุณสมบัตินี้เป็นความโดดเด่นของ Claude เลยก็ว่าได้ ทำให้เราไม่ต้องอ่านเอกสารยาวๆ แต่ได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนตามที่เราต้องการ อย่างไรก็ดี การดึงข้อมูลที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง (เช่นข้อมูลที่จะสื่อสารกับลูกค้า หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า) จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ดึงมาเสมอ

Use Fact-Grounding Whenever Possible

เพื่อป้องกัน Hallucination เราสามารถนำข้อเท็จจริงที่เรามีมาให้ AI และขอให้เขียนงานใหม่จากข้อเท็จจริงที่เรากำหนด งานที่ออกมาจาก AI จะมีคุณภาพสูงกว่า

ChatGPT
Copilot
357KB
PM2.5 ผลกระทบและกลไกการเกิดพิษ_บทความ.pdf
pdf
392KB
PM2.5 ผลกระทบและกลไกการเกิดพิษ_highlighted.pdf
pdf
prompt สั้นๆง่ายๆ มักจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยดี เพราะเอไอไม่ค่อยเข้าใจว่าเราต้องการอะไร และไม่มีแหล่งข้อมูลให้อ้างอิงด้วย จึงมีอาการ hallucinate
ผลลัพธ์จาก AI ดูดีขึ้นมากๆเลย
Claude สามารถเขียนโพสท์ที่มีคุณภาพกว่าโพสท์ที่เราได้จาก Copilot ตอนแรกเยอะเลยเพราะมีข้อมูลที่ดี